พิธีกรรมของพราหมณ์ ฮินดู

พิธีกรรมทางศาสนาพราหมณ์-ฮินดู
ชาวฮินดูจะมีพิธีกรรมแบ่งเป็น ๔ หมวด ดังนี้
๑. กฎสำหรับวรรณะ แต่เดิมมีการปฏิบัติอย่างเคร่งครัด แต่ปัจจุบันนี้ไม่ค่อยเคร่งครัดเท่าใดนัก
๑) การแต่งงาน จะแต่งงานกับคนนอกวรรณะไม่ได้
๒) อาหารการกิน จะมีข้อกำหนดว่าสิ่งใดกินได้หรือไม่ได้ คนในวรรณะต่ำจะปรุงอาหารให้คนวรรณะสูงกว่ากินไม่ได้
๓) อาชีพ ต้องประกอบอาชีพตามกำหนดของแต่ละวรรณะ

๒. พิธีประจำบ้าน หรือพิธีสังสการ เป็นพิธีกรรมที่ทำให้บริสุทธิ์ซึ่งผู้ที่อยู่ในวรรณะพราหมณ์ กษัตริย์ แพศย์ ต้องทำมีอยู่ ๑๒ อย่าง ดังนี้
๑) พิธีตั้งครรภ์
๒) พิธีเมื่อเด็กมีลมปราณ
๓) พิธีแยกหญิงตั้งครรภ์
๔) พิธีคลอดบุตร
๕) พิธีตั้งชื่อเด็ก
๖) พิธีนำเด็กออกไปดูดวงอาทิตย์
๗) พิธีป้อนข้าว
๘) พิธีโกนผม
๙) พิธีตัดผม
๑๐) พิธีเริ่มการศึกษา
๑๑) พิธีกลับเข้าบ้าน
๑๒) พิธีแต่งงาน

๓. พิธีศราทธ์ เป็นพิธีทำบุญอย่างหนึ่งที่ลูกหลานทำบุญอุทิศให้แก่บิดามารดาหรือบรรพบุรุษ ที่ล่วงลับไปแล้ว จะระทำกันในเดือน ๑๐ ตั้งแต่วันแรม ๑ ค่ำ ถึงวันแรม ๑๕ ค่ำ การทำบุญอุทิศให้ผู้ล่วงลับนี้ เรียกว่า ทำปิณฑะ ซึ่งหมายถึง ก้อนข้าวที่จะถวายอุทิศให้แก่ผู้ล่วงลับ ปิณฑจะทำ ๘ ที่ ให้แก่ บิดา ปู่ ปู่ทวด ตา ตาทวด บิดาของตา และพระวิศวเทพอีก ๒ ที่

๔. พิธีบูชาเทวดา พิธีจะแตกต่างกันไปตามวรรณะ ถ้าเป็นวรรณะสูง จะมีพิธีสวดมนต์ภาวนา อาบน้ำชำระกาย และสังเวยเทวดาทุกวัน พิธีสมโภชถือศีล และในวันศักดิ์สิทธิ์จะไปนมัสการบำเพ็ญกุศลในเทวาลัย แต่ถ้าเป็นวรรณะต่ำพิธีที่ปฏิบัติก็จะแตกต่างออกไป

ใส่ความเห็น